วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการเอเอสแบบยืดเวลา (Extended Aeration Activated Sludge)

เนื่องจากกระบวนการเอเอสแบบธรรมดาจะมีสลัดจ์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีถังหมักสำหรับย่อยสลายสลัดจ์ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ รวมกับสารอินทรีย์อื่นๆ ที่เน่าเหม็นได้ง่าย ให้เป็นสลัดจ์ที่มีความคงตัวและสามารถนำไปทิ้งได้ กระบวนการเอเอสแบบยืดเวลา เป็นกระบวนการที่มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียและกักตะกอนนานกว่าระบบเอเอสแบบอื่นๆ โดยมีความมุ่งหมายให้แบคทีเรียอยู่ในถังเติมอากาศนานๆ และได้รับอาหารน้อยๆ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัวเอง เป็นผลให้มีสลัดจ์ส่วนเกินเกิดขึ้นน้อยและอยู่ในรูปที่สามารถนำไปทิ้งได้ ดังนั้นระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีถังย่อยสลัดจ์(ถังหมัก) ความแตกต่างในการควบคุมระบบแบบธรรมดากับแบบยืดเวลา สามารถสรุปได้ดังตาราง
รูปกระบวนการเอเอสแบบยืดเวลา
 
ข้อแตกต่างระหว่างกระบวนการเอเอสแบบธรรมดาและแบบยืดเวลา
พารามิเตอร์
แบบธรรมดา
แบบยืดเวลา
SRT (วัน)
5 - 10
20 หรือมากกว่า
F:M (กก. BOD5/กก.VSS-วัน)
0.2 - 0.5
0.05 - 0.15
MLSS (มก./ล.)
น้อยกว่า 3,000
3,000 – 5,000
เวลากักพัก (ชม.)
4 – 10
24 หรือมากกว่า
ที่มา : มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์, 2542(6)

การที่ระบบนี้มีค่า SRT สูง มีผลทำให้เกิดการย่อยสลายตัวเองของมวลจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ ดังนั้นผู้ออกแบบจึงนิยมออกแบบให้น้ำเสียไหลเข้าถังเติมอากาศได้โดยไม่ต้องมีถังตกตะกอนขั้นแรก ทั้งนี้เนื่องจากสลัดจ์ในน้ำเสียจะถูกย่อยในถังเติมอากาศได้พร้อมๆ กับสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น